คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้ | รวมศัพท์เทคนิคทั้งหมด
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้ พร้อมคำอธิบายและความหมายที่เข้าใจง่ายกันนะครับ จุดมุ่งหมายหรือวัถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างคำ ศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ให้กับมือใหม่และบุคคลที่สนใจ ได้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆเกี่ยวกับระบบเสียงได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ พร้อมแล้วติดตามกันได้เลยครับ
เสียงหรือคลื่นความถี่เสียง อธิบายได้ง่ายๆและให้เห็นภาพ เมื่อเราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ แล้วทำให้น้ำกระจายออกเป็นระลอกเกิดคลื่นขึ้น มันก็เหมือนการเคลื่อนที่ของเสียง (Wave) สามารถอธิบายเชิงลึกได้ว่าก้อนหินคือ ต้นกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดเสียง (Source) จุดที่ก้อนหินกระทบกับน้ำแล้วก่อให้เกิดเสียงเรียกว่า (Sound) ส่วนการกระจายตัวของคลื่นน้ำก็เปรียบสเมือนคลื่นเสียง (Sound wave) ซึ่งแต่ละลูกคลื่นที่น้ำกระจายตัวออกมาเรียกว่า ไซเคิล (Cycles) สำหรับความเร็วของการเคลื่อนที่ของวงคลื่นนับตั้งแต่จุดที่เราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ จนเกิดการกระจายของคลื่นสิ้นสุดลงเราเรียกว่า ความถี่ (Frequency) การปาหินลงน้ำนั้นไม่ว่าจะเบาหรือแรงมากน้อยเพียงใด มันย่อมส่งผลต่อคลื่นในน้ำ ที่สูงและต่ำไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าความสูงต่ำของรูปคลื่่นของน้ำนั้นเปรียบได้กับค่าความดังของเสียง ซึ่งเรียกว่า sound pressure level เรียกย่อๆว่าค่า SPL ทีนี้เรามาเรียนรู้ คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง กันครับ หากดูผ่านคอมพิวเตอร์ สามารถกด Ctrl + F เพื่อค้นหา คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ต้องการได้เลย หรือเลือกดูเรียงตามตัวอักษรที่ด้านล่างนี้
แอคทีฟครอสโอเวอร์ คืออุปกรณ์ แบ่งความถี่เสียงในย่านความถี่ต่างๆ เช่นเสียง ทุ้ม กลาง แหลม เป็นต้น ทำไมจะต้องมีอุปกรณ์นี้ ก็เพราะว่าในอุปกรณ์จำพวกลำโพง มีทั้งลำโพงเสียงทุ้ม กลาง แหลม อุปกรณ์นี้ ก็จะแบ่งหรือกรองความถี่ให้เหมาะสมกับความสามารถในการตอบสนองความถี่ของลำโพงนั้นๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 1. เราส่งเสียงของเราซึ่งเป็นเสียงทางกายภาพ เป็นเสียง เป็นคลื่นจริงๆ เข้าไปที่ไมค์โครโฟน ดังนั้น ADC คือตัวแปลงเสียงอนาล็อก เป็น ดิจิตอล เราใช้ ADC เพื่อการแปลงสัญญาณในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล แอมป์ หรือ แอมแปร์ (A หรือ Ampere) หน่วยที่ใช้เรียกปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น 10 A. หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลเท่ากับ 10 แอมแปร์ แอมปริไฟเออร์ หรือเครื่องขยายเสียงที่เรารู้จักกันดี ซึ่งทำหน้าที่ขยายสัญญาณเอ้าท์พุทขาออกให้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณที่อินพุทเข้ามา ซึ่งแอมป์ขยายก็มีให้เลือกใช้งานหลายรุ่น กำลังวัตต์และคุณภาพก็แตกต่างกันไป คือขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแกว่งตัวในระบบ ตัวอย่างเช่น คลื่นเสียง คือการแกว่งตัวของแรงดันในบรรยากาศ แอมพลิจูดของมันคือการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในแต่ละรอบ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในคาบการแกว่งตัวปกติ จะสามารถวาดเส้นกราฟของระบบออกมาโดยให้ค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นแกนตั้ง และเส้นเวลาเป็นแกนนอน แสดงให้เห็นภาพของแอมพลิจูดเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ออดิโอไฟน์ คือ คุณภาพการบันทึกแผ่นซีดี โดยเน้นคุณภาพเป็นพิเศษ โดยให้ความพิถีพิถันทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การบันทึกเสียงในห้องอัด การบันทึกลงแผ่น ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี เพื่อให้ได้มาซึ่งแผ่นที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกับต้นกำเนิดเสียง คำว่า AUDIOPHILE จึงหมายถึงการเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด อ๊อกซิลาลี่ ออดิโอ อินพุท เป็นจุดรับสัญญาณเข้า สำหรับรองรับเครื่องเล่นเพลงหรือเครื่องกำเนิดเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค และเครื่องเล่นต่างๆ เช่น MP3, CD,Player เป็นต้น อ๊อกเซนท์ เป็นจุดสำหรับส่งสัญญาณออกเพื่อต่อกับอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น เอฟเฟค อีคิว แอมป์ขยาย เป็นต้น นิยมใช้เพื่อ ส่งสัญญาณออกไปเพื่อต่อระบบ ลำโพงมอนิเตอร์เพื่อให้ได้ยินเสียงตัวเอง หรือต่อกับเอฟเฟคสำหรับเสียงร้อง เป็นต้น
คาร์ดิออยด์ ไดเร็คชั่น ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid สามารถรับเสียงจากทางด้านหน้า (0o) ได้ดีที่สุด แต่รับเสียงที่มาจากทางด้านหลัง (180o) ได้น้อยมากๆ หรือ ไม่ได้เลย เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถรับเสียงที่ห่างไมโครโฟน โดยไม่มีปัญหาเสียงรบกวน คาร์ดิออยด์ นอกจากจะเป็นการรับเสียงของไมโครโฟนแล้ว ยังมีการเซ็ทอัพลำโพงซับวูฟเฟอร์แบบคาร์ดิออยด์อีกด้วย ซึ่งการเซ็ทหรือทำลำโพงให้มีการกระจายเสียงแบบคาร์ดิออยด์ ไม่ได้หวังผลเรื่องความดัง แต่หวังผลเรื่องทิศทางของเสียงมากกว่า อ่านเพิ่มเติม เรื่อง การรับเสียงของไมโครโฟน คลิก เป็นการออกแบบเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง มีค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย Class ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดกระแทกแรงๆ เป็นการรวมตัวกันของ เครื่องขยายเสียง-Amplifier ทั้ง Class A และ Class B ที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอด แต่จะไม่มากเท่า Class A และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือน Class B จึงทำให้เครื่องขยายเสียง-Amplifier ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่เท่า Class A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และ Class AB นี้แหละ เป็น เครื่องขยายเสียง-Amplifier ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม และ ขับลำโพงซับวูเฟอร์ก็ได้ เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือ ผลัก ดัน ช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก เสียงจึงไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันเครื่องขยายเสียง-Amplifier Class นี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้ว เป็นการออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบ ทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ ในด้านประสิทธิภาพนั้นจึงสูงกว่า Class AB หลายเท่า แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตอบสนองความถี่เสียง ซึ่ง Class นี้เหมาะใช้ขับลำโพงซับวูเฟอร์ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ แต่ไม่นิยมที่นำไปขับลำโพงกลาง-แหลม เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้นมาอีกขั้น โดยลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ พื้นฐานใกล้เคียงกับ Class AB และมีประสิทธิภาพเท่ากับ Class D หรือ Class T แต่การออกแบบวงจรจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า เป็นการออกแบบมีความคล้ายคลึงกับแอมป์คลาส G แอมป์คลาส H เป็นการนำเอาข้อดีในด้านประสิทธิภาพของแอมป์คลาสดี แต่ให้คุณภาพได้ดีเหมือนแอมป์คลาสเอบี แอมป์คลาสเอซนี้มีรูปแบบวงจรที่สลับซับซ้อนพอสมควรเรียกได้ว่าเป็น แอมป์ที่ให้วัตต์สูงแบบแอมป์คลาสดี แต่ให้คุณภาพเสียงเหมือนแอมป์คลาสเอบีและมีราคาค่อนข้างสูง เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (tripath) ทำให้วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) ทำให้ Class T สามารถขับได้ทั้งลำโพงซับวูเฟอร์ และ ลำโพงกลาง-แหลม เครื่องขยายเสียง Class T ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า Class AB คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน หมายถึงไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) ภายในประกอบด้วย แผ่น diaphragm บาง ๆ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ซึ่งไมค์ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงแรงดันตั้งแต่ 1.5 ถึง 48โวลท์ เพื่อทำให้วงจรอิเลคทรอนิคทำงาน ไมค์ชนิดนี้ มีความไวเสียงสูง สามารถรับช่วงความถี่เสียงได้กว้างกว่าไมค์ไดนามิค ให้รายระเอียดเสียงที่ดี เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีประเภทอคูสติก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานในห้องหรือสตูดิโอ ข้อดีคือ เสียงที่ได้มีความชัดเจนเก็บรายละเอียดได้ดี แต่เนื่องจากความไวสูง หากนำไปใช้ในที่ที่มีเสียงรบกวนสูง ต้องใช้อย่างระมัดระวัง คอลโทรลรูมเลเวล ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง ครอสโอเวอร์แบบแอคทีพ คืออุปกรณ์สำหรับกรองหรือแบ่งความถี่เสียง ทุ้ม กลาง แหลม อุปกรณ์นี้จะถูกต่อก่อนเข้าเครื่องขยายเสียง อุปกรณ์นี้มีทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอก ครอสโอเวอร์แบบพาสซีพ คืออุปกรณ์สำหรับกรองความถี่เสียง ทุ้ม กลาง แหลม อุปกรณ์นี้จะถูกติดตั้งอยู่ในตู้ลำโพงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ครอสโอเวอร์เน็ทเวิร์ค
แดมปิ้งเฟคเตอร์ (DF) คือ ความสามารถของเครื่องขยายเสียงในการหยุดการสั่นค้าง ของดอกลำโพง จะมีผลมากกับความถี่ต่ำๆค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์มันก็คือ ค่า วัดอัตราส่วน ของ ค่าอิมพีแด้นของลำโพง ต่อ ค่าอิมพีแด้นเอ้าท์พุทของ power amp ครับ ว่ามีค่ามากน้อยเท่าไหร่ ค่านี้ยิ่งมากยิ่งดีครับ จะทำให้ได้เสียงที่กระชับเพราะมีค่าการหยุดการสั่นของลำโพงสูง ดิจิตอล ทู อนาล็อก DAC หรือ D/A ย่อมาจาก Digital-to-analog converter หมายถึงการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อก ซึ่งก็คือการทำงานย้อนกระบวนการกับ ADC แปลเป็นภาษาแบบชาวบ้านก็คือ ตัวแปลข้อมูลเป็นเสียง แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อก DAC ทำหน้าที่เล่นหรือ Playback ทั้ง ADC และ DAC ในมุมตัวแปลงสัญญาณจะอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ในรูปแบบชิป (Chip) ดิจิตอลซิกแนลโปรเซสเซอร์ เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิตอล DSP (digital signal processing) หรือ เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิตอล ซึ่งในหนึ่งเครื่องของดิจิตอล ซิกเเนล โปรเซสเซอร์ ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องปรับแต่งเสียงต่างๆรวมอยู่ในเครื่องเดียวเช่น Graphic Egualizer Crossover Compresser Noise gate Feedback effects เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเพิ่มขึ้น ไดเรคเอาท์พุท ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง (Effects) หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์ ย่อมาจากคำเต็มว่า direct box เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานในการทำงานระบบเสียง และจัดเป็นอุปกรณ์หลัก อีกตัวหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการลากสายสัญญาณที่มีความยาว ในระยะทางที่ไกลมาก โดย D.I. box จะช่วยลดการสูญเสียของสัญญาณให้น้อยที่สุด และช่วยลดการรบกวนของสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีอีกด้วย เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ High Impedance (ความต้านทานสูง) ให้เป็นสัญญาณ Low Impedance (ความต้านทานต่ำ) และทำหน้าที่แปลงสัญญาณในรูปแบบ Unbalance ให้เป็น Balance อีกด้วย อ่านบทความ D.I. Box (ไดเร็ก บอกซ์) ตัวช่วยของนักดนตรี ที่มีดี…ยิ่งกว่าประโยชน์ คลิก ประเภทพาสซีฟ จะใช้หลักการทำงานโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) ในการแปลงสัญญาณ ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง คุณภาพของเสียงก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การเลือกใช้คุณภาพของหม้อแปลงในการผลิต ของผู้ผลิตแต่ละราย ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจขึ้นอยู่ที่ยี่ห้อ และราคาด้วยครับ ประเภทแอคทีฟ จะใช้หลักการทำงานของวงจรอิเลคทรอนิกส์ในการแปลงสัญญาณ D.I. box ประเภทแอคทีฟ จำเป็นต้องใช้ไฟ DC ขนาด 9 – 48V+ เพื่อไปเลี้ยงวงจรในขณะใช้งานอยู่เสมอ บางยี่ห้อ บางรุ่นอาจใช้งานได้ทั้งการใส่ถ่าน 9 V และการปล่อยไฟ Phantom 48V+ โดยตรงจากมิกเซอร์เพื่อใช้งานร่วมกันได้เลย คุณภาพของเสียงก็ตามยี่ห้อ และราคา ตามความสามารถในการออกแบบวงจรของ D.I. box ของผู้ผลิตแต่ละราย ว่าจะสามารถตอบโจทย์คุณภาพการใช้งาน ได้มากน้อยเพียงใด ไดนามิก ไมโครโฟน ไมโครโฟนแบบไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย(Dynamic Movie Coil Microphone) หรือที่เรียกสั้นๆว่าไดนามิกไมโครโฟน เป็นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของการเคลื่อนที่ของขดลวดตามเสียงที่มากระทบ และเมื่อขดลวดตัดผ่านสนามแม่เหล็กถาวร ก็จะเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามคลื่นเสียงนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ครอบคลุมการใช้งานเกือบทุกประเภท เพราะสามารถรับเสียงในย่านกว้างทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงได้
แพด บนมิกเซอร์มีความหมายว่า ลดทอนสัญญาณลง เช่น Pad -10 db เมื่อกดปุ่มนี้สัญญาณจะลดลงถึง -10 db แพน หรือ pan ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวา และทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง (Track) เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย พารามีติก อีคิว มีหน้าที่บูสและคัดความถี่และเราสามารถกำหนดความถี่ได้เอง อีคิวชนิดนี้เมื่อเราบูสหรือคัดความถี่ใดความถี่หนึ่งก็จะมีผลกับความถี่ใกล้เคียงด้วย เช่นเราบูสหรือคัดความถี่ 80hz ก็จะมีผลกับความถี่ที่ต่ำและสูงกว่า 80hz ด้วย อีคิวชนิดนี้เหมาะสำหรับปรับคุณภาพของเสียงแต่ละชาแนล อีคิวชนิดนี้ส่วนมากก็จะอยู่บนชาแนลของมิกเซอร์ทั้ง อนาล็อกและดิจิตอลมิกเซอร์ พีคมิเตอร์ ทำหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาใน Channel นั้นๆของมิกเซอร์ Input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (Gain) หรือพาราเมตริก อีคิว วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้เต็มที่ ในขณะที่เราวัดจาก VU Meter และทำให้ทราบได้ว่ามีช่วง ไหนของสัญญาณทีมีความแรงที่สุด พีค เพาเวอร์ เป็นค่าที่มากกว่า Program Power หนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง พีคเพาเวอร์ แฮนด์ดิ้ง คือกำลังสูงสุด แต่เป็นค่าที่วัดแค่เสี้ยววินาทีแต่ไม่ก่อให้เกิดการเสียหายแก่อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขยายเสียงหรือลำโพง และค่านี้จะบอกว่ากำลังของเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงให้ค่า พีคเพาเวอร์สูงสุดที่เท่าใหร่ ผู้ผลิตบางรายจะบอกกำลังขับสูงสุดนี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนเอง แทนการบอกอัตรากำลังเฉลี่ย(RMS) จึงอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเลือกอย่างเหมาะสม แฟนทอม ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ DC ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์ (volt) เฟส ทำหน้าที่ในการปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้อง ที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายสัญญาณผิดพลาดหรือสลับขั้ว หรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟสกัน (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนสัญญาณอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งในบางครั้งเราสามารถสังเกตุได้จากการฟังเสียงว่ามีเสียงในบางย่านความถี่หายไป หรือ เบาลงหรือไม่ ซึ่งเราสามารถลองกดปุ่มนี้ได้เลย โดยไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น โพลี่โพไพลีน เป็นวัสดุที่นิยมสำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่นตู้ลำโพง ดอกลำโพง วัสดุโพลี่โพรไพลีนให้ความยืดหยุ่นมีความแข็งแรง และทนทานต่อความเปียกชื้นได้สมบูรณ์แบบ
• เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับแบบต่อเนื่องด้วยสัญญาณ
• เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด ซึ่งแอมปิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอด
• เป็นค่าที่มากกว่า Program Power หนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง post โพสต์ หมายถึงสัญญาณที่เข้ามา Channel เสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟ็กต์อื่น ๆ ก็ตาม ปรี หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาใน Channel เสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์ (เฟดเดอร์นี้มักจะอยู่ล่างสุดและมีลักษณะยาว) ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่จะไปดังออกที่ภาคปรี (Pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (Reverb) เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวิร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักที่ทำให้สามารถนำสัญญาณนั้น ๆ ไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามแต่ต้องการหรือสร้างสีสันทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง ปรี แอมป์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับซอร์ทเสียงต่างๆเช่นเครื่องเล่น ซีดี เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องมัลติเพลเยอร์อื่นๆ เข้ามาที่ตำแหน่งอินพุทของ ปรีแอมป์ ก่อนจะส่งต่อไปหาเครื่องขยายเสียง ในตำแหน่ง เอ้าท์พุทของปรีแอมป์ ในปรีแอมป์ก็จะประกอบด้วยฟังก์ชั่นเบสิคพื้นฐานเช่น ปุ่มปรับเพิ่มความดัง บางรุ่นมีปุ่มปรับเสียงทุ้มเสียงแหลม และมีปุ่มปรับบาลานซ์ซ้ายขวา และมีช่องอินพุท และช่องเอาท์พุทด้วย พลับบริคแอดเดรส หรือระบบเสียง พี.เอ หรือระบบ Sound Reinforcement ระบบเสียงแบบนี้พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่างๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, งานกระจายเสียงทั่วไป, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึง ในห้องประชุม เป็นต้น
ทรี เว ครอสโอเวอร์แบบ 3 ทิศทาง จะทำให้เพาเวอร์แอมป์สเตอริโอ 1 เครื่อง(2 แชนแนล) สามารถขับชุดลำโพงซ้าย/ขวาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ 1 ตัวได้ โดยมีสายลำโพงต่อเข้าครอสโอเวอร์เพียง 2 ชุด(ซ้าย/ขวา) แต่มีจุดต่อออกสายลำโพงเป็น 3 ชุด(ซ้าย/ซับ/ขวา) ดังนั้นลำโพงซ้าย/ขวาจะรับกำลังวัตต์ในแต่ละแชนแนล ในขณะที่ซับวูฟเฟอร์จะรับกำลังวัตต์ในลักษณะการบริดจ์กำลัง ทวี เว สปีกเกอร์ ลำโพง 3 ทางหรือไตรแอ็คเชียล เป็นลำโพงที่แยกส่วนของวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในลักษณะเดียวกับลำโพง 2 ทาง แต่มีการเพิ่มมิดเรนจ์สำหรับขับแยกเฉพาะเสียงกลาง หรือบางยี่ห้อก็เลือกเพิ่มซุปเปอร์ทวีตเตอร์แทนมิดเรนจ์ เพื่อขยายแนวส่วนของเสียงแหลมให้กว้างออกไป ส่วนลำโพง 4 ทาง ก็จะประกอบด้วยวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์, ทวีตเตอร์ และซุปเปอร์ทวีตเตอร์เพื่อให้รายละเอียดของเสียงได้มากกว่า ทวีตเตอร์ เป็นลำโพงขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อการให้เสียงความถี่สูง(เสียงแหลม) กรวยทวีตเตอร์มักมีประสิทธิผลสูงและต้นทุนต่ำ ตัวทวีตเตอร์มักเป็นทรงโดมและทรงกลมแบบเดียวกับที่พบเห็นกันในลำโพงบ้าน ให้มุมกระจายเสียงเป็นบริเวณกว้าง โดยมีความราบรื่นในการให้เสียงอย่างถูกต้อง ทวีตเตอร์แบบสมมาตรจะใช้รูปทรงโดมและทรงกลมร่วมกัน จึงให้เสียงแหลมที่สะอาดชัดเป็นเลิศและแผ่เสียงเป็นบริเวณกว้างมากๆ ทวีตเตอร์อาจทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายเช่น โลหะ, กระดาษ, อลูมิเนี่ยม, ไตตาเนี่ยม หรือแผ่นฟิลม์สังเคราะห์จากโพลีเธอริไมด์(PEI)หรือคาราเด็ค(polyethylene naphthalate) ซึ่งให้ผลในการรับฟังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ฟัง ทู เว สปีกเกอร์ ลำโพง 2 ทางหรือดอกลำโพงแบบโคแอ็คเชียล เป็นการนำเสนอเสียงผ่านทางลำโพง 2 แบบที่แยกส่วนกัน โดยมีทวีตเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายในวูฟเฟอร์ให้โทนเสียงแหลม และวูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้ม
หลังจากได้ คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้ ไปแล้ว มาดูสินค้าเครื่องเสียงต่อได้ที่นี่ คลิก