มาเริ่มเล่น Computer Audio กันเถอะครับ

By สุโสภาภรณ์ แดงอุบล

มาเริ่มเล่น Computer Audio กันเถอะครับ

มีหลายท่านถามกันมาเยอะครับ ถึงกระแสของการเล่นเครื่องเสียงแบบ Computer Audio เพราะเห็นช่วงนี้พูดกันหนาหูเหลือเกินว่า น่าสนใจ จะเป็นเทรนด์ใหม่ ที่กำลังจะมาบ้างล่ะ เสียงดีบ้างล่ะ น่าสนใจบ้างล่ะ หลายท่านสนใจ แต่ในขณะเดียวกันเอง ก็ยังคงมีคำถามในใจจากหลายๆท่านว่า เรื่องปัจจัย ไม่ใช่ปัญหา แต่ว่าจริงๆแล้ว Computer Audio มันเป็นอย่างไร ข้อดีข้อเสียมันมีที่ตรงไหน แล้วจริงๆ แล้วมันน่าสนใจจริงหรือเปล่า

จึงเป็นที่มาของ กระทู้นี้ครับ เพื่อเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการเล่นเครื่องเสียงรูปแบบใหม่ ให้หลายๆท่านได้ทราบกันครับก่อนอื่นทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า ผมจะเน้นไปที่ความเข้าใจพื้นฐานนะครับ ดังนั้น ศัพท์แสงบางคำ อาจจะขอเป็นคำที่เข้าใจง่ายๆ ไม่เน้นศัพท์เทคนิคมากนัก หากท่านใดสนใจจริงๆ หลังไมค์คุยกันได้ครับ

Computer Audio คืออะไร ?

Computer Audio นั้นในความหมายกว้างๆ ก็คือ การเล่นไฟล์เพลงร่วมกับชุดเครื่องเสียง ผ่านทางเครื่อง Computer หรือ เครื่องอื่นในทำนองนี้ โดยคำว่า Computer Audio นั้น ส่วนมากเราจะได้ยินคู่กับคำว่า Hires (คำนี้น่าจะคุ้นกว่าครับ) โดยการเล่นไฟล์เพลงที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะไม่เหมือนกับการใช้ Winamp หรือ Window media player หรือโปรแกรมเล่นเพลงอื่นๆ ที่นำมาเล่นกับไฟล์ mp.3 นะครับ อันนั้นเป็นคนละกรณีกัน เพราะว่าคุณภาพนั้น มันสุดแสนจะรับไม่ได้ครับ ที่ต้องบอกอย่างนี้ก่อนก็เพราะว่า บางท่านเมื่อได้ยินคำว่า Computer Audio จะนึกถึงการเล่นไฟล์ mp.3 มาเป็นอันดับแรก และจะคิดไปก่อนในทันทีครับว่า เสียงจะต้องไม่ดีอย่างแน่นอน

เมื่อทำความเข้าใจตรงกันแล้ว เราก็จะเริ่มลงในรายละเอียดนะครับ เมื่อมีการเล่นไฟล์ ผ่าน Computer นั้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องมีแน่ๆเลยในการเล่นลักษณะนี้ก็คือ

1. Computer ซักแบบนึง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม (ส่วนนี้จะขยายความอีกครั้งครับ) 2.ไฟล์เพลง (ส่วนนี้ก็จะว่ากันอีกครั้งหนึ่งครับ ว่ามีกี่รูปแบบ)

คราวนี้ มี 2 อย่างนี้ก็คงจะยังไม่สามารถถ่ายทอดเสียงผ่านไปยังชุดเครื่องเสียงของเราได้หรอกครับ เพราะว่าถ้าสังเกตดีๆ ลองอ่านตามมาเรื่อยๆ ก็จะพบว่า ไฟล์ที่เราเล่น ก็เป็นไฟล์ Digital ใช้ Computer เล่นผ่านโปรแกรมต่างๆ ก็คือกานอ่านไฟล์นั้นๆ ให้เป็น Digital Signal ที่สมบูรณ์แบบออกมานั่นเอง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้งานร่วมกับชุดเครื่องเสียงของเราไม่ว่าจะเป็น Integrated amp สำหรับฟังเพลง หรือว่า A/V Receiver สำหรับชุดดูหนัง

จึงจำเป็นที่จะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ Digital ไปเป็น Analog หรือที่เราเรียกว่า D/A Converter หรือ DAC มาใช้งานร่วมด้วยนั่นเอง

คราวนี้น่าจะถึงบางอ้อนะครับ ว่าอะไรน้อ เรียกกัน มี DAC มั๊ย มี DAC มั๊ย DAC คืออะไร คำอธิบายแบบบ้านๆก็อยู่ด้านบนแล้วนะครับพี่น้อง

สรุป ตอนนี้เราจะองค์ประกอบหลัก 3 อย่าง แล้วนะครับคือ

1.Computer

2.ไฟล์เพลง

3.D/A Converter อันนี้คือส่วนหลักๆ ถ้าจะเพิ่มเติมอีกสักอย่างที่ตอนนี้ก็ถือว่าได้รับควานสนใจก็คือ Software ที่นำมา playback digital file ที่ได้รับความนิยมและการยอมรับว่า เล่นออกมาแล้วเสียงดี บางท่านอ่านถึงตรงนี้บอกว่า จะบ้ากันไปใหญ่แล้วมันจะแตกต่างกันได้อย่างไร แค่ software โปรแกรมที่นำมาเล่นไฟล์เพลง เสียงจะต่างกันได้อย่างไร บอกก่อนตรงนี้เลยครับว่า software หรือ โปรแกรมที่ว่ามานี้ มีผลต่อเสียงแน่นอนครับ และมีมากๆด้วย

ถึงขนาดฟังปกติ ไม่ต้องเพ่งพิจารณามากก็ฟังออกครับ เพราะฉะนั้นเรื่อง software นั้น ผมจะถือว่าเป็นองค์ประกอบย่อยของข้อ 1.Computer นะครับ ให้เป็นองค์ประกอบที่ 1.1 ละกันครับ Computer Audio VS CD Player ???

แล้วมันต่างกันไหมล่ะ

คำตอบก็คือ ทั้งสองแบบนั้นก็รูปแบบของการ playback เสียงดนตรี กลับมาให้เราๆท่านได้ฟังกันเหมือนกันครับ เพียงแต่ว่าองค์ประกอบของระบบต่างหากที่แตกต่างกันออกไป ถ้ามองดีๆ จากข้อมูลข้างต้นก็จะพบว่า หน้าที่โดยรวมของทั้ง computer , software , D/A converter และไฟล์เพลงนั้น เมื่อเอามาผสมรวมกันแล้วก็เปรียบได้กับการที่เราใช้งานเครื่องเล่น CD อ่านข้อมูลจากแผ่น CD ที่บันทึกมาในระบบ Digital แล้วก็ผ่าน D/A Converter ในตัวเครื่องเล่นซีดีเอง แล้วก็แปลงสัญญาณออกมาเป็น Analog แล้วเราก็ต่อช่อง Analog out ของเครื่องเล่นซีดี ไปเข้าที่ A/V Receiver หรือไม่ก็ Integrated amp เพื่อขยายสัญญาณเสียงต่อไป

เห็นไหมครับว่า มันเหมือนกัน ทั้ง 2 แบบ 2 สไตล์ เพียงแต่ถ้าเราเข้าใจหลักการพื้นฐานก็ไม่ยากแล้วล่ะครับ

คราวนี้ เมื่อท่านบอกว่าเครื่องเล่นซีดีเดิม เสียงไม่ดี อยากเปลี่ยนเครื่องเล่นซีดีใหม่ พอเปลี่ยนรุ่น เปลี่ยนยี่ห้อ ฟังแผ่นซีดีแผ่นเดิม พบว่า เสียงที่ได้ยินนั้นแตกต่างกัน ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้นครับ ถ้าหากว่าคุณใช้ Computer คนละรุ่น คนละแบบ หรือเปลี่ยน software ในการเล่นเพลง หรือแม้แต่เปลี่ยน DAC ในการใช้งาน Computer Audio เสียงที่ได้ยินก็ย่อมที่จะแตกต่างกันเเป็นธรรมดา มันก็เหมือนกับเราเปลี่ยนเครื่อง front-end เครื่องหนึ่งนั่นเองครับ

จบในส่วนของ คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับการเล่นไฟล์ผ่าน Computer Audio แล้วนะครับ ต่อไปก็จะเริ่มลงลึกไปในรายละเอียดต่างๆ แล้วครับว่า เราจะเล่นยังไง มีวิธีเลือกอย่างไร อะไรน่าสนใจบ้าง ตอนนี้กระแสเขาเล่นอะไรกันอยู่ ลงลึกทีละขั้นกับ Computer Audio

1.เรื่องของเครื่อง Computer กันก่อนครับ

การใช้งานปัจจุบันแบ่งค่ายเป็นอย่างไร การฟังเพลงแบบ Computer Audio ก็แบ่งค่ายไปในรูปแบบเดียวกันฉันท์นั้นครับ

หลายๆท่านคงจะคุ้นชินกับทั้งสองระบบปฏิบัติการ สองมหาอำนาจในโลกของ computer วันนี้ ซึ่งก็คือ Windows ของ Microsoft และ Mac ของ Apple

ซึ่งทั้งสองค่ายนี้ ต่างคนก็ต่างมีความเป็นศิลปินกันไปคนละแบบครับ การเล่นไฟล์เพลงผ่านทั้งสองระบบปฎิบัติการนี้ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของคุณภาพเสียงครับ โดยถ้าหากว่าเป็นออปชั่นพื้นฐานที่ใกล้เคียงกันนั้น ในปัจจุบันนักเล่นเครื่องเสียงยังคงให้น้ำหนักไปทาง Mac มากกว่านิดหน่อย ว่าสามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงออกมาได้ดีกว่าครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ มันก็เหมือนกับการเลือกลำโพงนั่นล่ะครับ ทางใครก็ทางมัน แต่ถ้าหากว่าเลือกได้ ในการเริ่มเล่นนั้น ผมแนะนำว่าเล่นมาทางฝั่ง Mac ไปเลยน่าจะดีกว่าครับ

แรกเริ่มเดิมทีนั้น การใช้งานก็จะใช้งานกับเครื่อง PC ทั่วไป ที่มีเคส มีพัดลม แล้วก็มีจอให้เราได้ใช้งานนี่ล่ะครับ ด้วยสาเหตุที่ว่า มันง่ายต่อการใช้งานกอปรกับว่า อาจจะมีเครื่องเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไม่ต้องเสียงเงินซื้อใหม่ เพียงแต่ไปหาไฟล์กับหาโปรแกรมที่แจ่มๆมาลง หา DAC ดีๆ สักตัวมาก็ใช้งานร่วมกับเครื่องเสียงเดิมที่มีอยู่แล้วได้ทันที แต่... ประเด็นที่หลายๆท่านรับไม่ได้ก็คือ เรื่องของพัดลมระบายความร้อนที่มีเสียงค่อนข้างดังทำให้เวลาใช้งาน มันไม่เวิร์คครับ เสียงกวนกัน จนเกินจะรับไหว (ไม่อาจทัดทาน) ทำให้เกิดพัฒนาการขึ้นมาใหม่ ก็คือ เปลี่ยนจากการใช้คอมพิวเตอร์แบบ Hard case มาเป็น Notebook แทนครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เสียงไม่ดัง และที่สำคัญก็คือ Notebook มี Port USB ที่สามารถใช้งานร่วมกับ DAC ได้ด้วย (เดี๋ยวจุดนี้ขยายความให้ฟังอีกทีครับ) ก็เลยเป็นที่มาของรูปแบบการเล่นที่ดูจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

ฝั่งของ Windows คุณก็เลือกได้ตามอัธยาศัยเลยครับ จะใช้ Toshiba , Samsung , Lenovo , Sony , HP , Dell หรือ สุดแล้วแต่จะสรรหากันมา คราวนี้ก็มีคำถามตามมาอีกสิครับ ว่าแต่ละยี่ห้อเสียงต่างกันหรือเปล่า บอกได้เลยครับ ว่าต่าง แต่ว่าอะไรจะดีกว่าอะไรนั้น ผมอาจจะตอบไม่ได้ทุกคำถาม เพราะว่าไม่สามารถ จะเอา Notebook ที่สเปกใกล้ๆกันมาลองฟังเทียบเสียงกันได้ครับ แต่ถ้าโดยส่วนตัวนั้น Toshiba กับ Sony ผมว่าใช้ได้เลยล่ะครับ คราวนี้ พอได้เรื่องของ Notebook มาเป็นพื้นฐานแล้ว เราก็ต้องแบ่งการเล่นออกเป็น 2 ฝ่ายครับ เนื่องจากว่า แต่ละฝ่ายก็จะมี software เจ๋งๆ ที่จะนำมาเล่นเพลงให้เสียงดีแตกต่างกันออกไป ไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมของแบ่งเลยละกันนะครับฝั่งของ Windows คุณก็เลือกได้ตามอัธยาศัยเลยครับ จะใช้ Toshiba , Samsung , Lenovo , Sony , HP , Dell หรือ สุดแล้วแต่จะสรรหากันมา คราวนี้ก็มีคำถามตามมาอีกสิครับ ว่าแต่ละยี่ห้อเสียงต่างกันหรือเปล่า บอกได้เลยครับ ว่าต่าง แต่ว่าอะไรจะดีกว่าอะไรนั้น ผมอาจจะตอบไม่ได้ทุกคำถาม เพราะว่าไม่สามารถ จะเอา Notebook ที่สเปกใกล้ๆกันมาลองฟังเทียบเสียงกันได้ครับ แต่ถ้าโดยส่วนตัวนั้น Toshiba กับ Sony ผมว่าใช้ได้เลยล่ะครับ คราวนี้ ในส่วนของ software ที่จะมาเล่นบน platform ของ Windows ก็มีอยู่หลายตัวครับ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ Foobar , J River และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ทั้งสองโปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่เสมอๆ ทำให้เมื่อมีการลง plug in ต่างๆ เพิ่มเติม ก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการฟังเพลงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกครับ

ฝั่งของ Mac ก็มีให้เลือกอยู่ไม่กี่แบบครับ จะเป็น Macbookair , Macbook Pro , Macmini หรือ iMac ก็ว่ากันไปครับ แต่ว่าโดยพื้นฐานหากมีการเล่นไฟล์เพลงผ่าน Harddisc ในเครื่องของแต่ละรุ่นนั้น ผมแนะนำว่า Macbookair น่าจะได้เปรียบที่สุดครับ ถ้าวัดกันในเรื่องของเสียง เนื่องด้วย Harddisc นั้นเป็นแบบ Solid ไม่ได้เป็นแบบจานหมุน เหมือนกับ Pro หรือ Mini ครับ ดังนั้น เวลาอ่านข้อมูลไฟล์เพลงและ Playback กับมาจะได้เปรียบในเรื่องของเสถียรภาพครับ และถ้าเล่นเพลงผ่าน Harddisc เทียบกัน อันนี้ฟังออกครับว่าเสียงนั้นมีความแตกต่างกัน ถ้าใครที่มี Mac อยู่แล้ว ก็สบายใจไทยแลนด์ครับ เพียงแค่ลงโปรแกรมที่เราชอบเพิ่มเติม ก็ใช้งานได้เลย

ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ Mac จองคุณได้เป็นอย่างดี (เพราะว่าผมก็เป็นครับ บางที ซื้อ Mac มาแล้วใช้ไม่คุ้ม เน้นตอบเวบ ภาพสวยอย่างเดียว)

ในส่วนของ Mac mini นั้นผมก็แนะนำสำหรับท่านที่ มีจอ เพื่อใช้งานร่วมด้วยอยู่แล้ว เพราะว่า Macmini นั้น จะต้องต่อกับจอ เพื่อแสดงผลอีกทีนะครับ เพราะว่าตัวเครื่องนั้นมาแต่ตัว ไม่มีจอมาให้ บางท่านบอกว่า ยุ่งยาก ก็เลยตัดสินใจซื้อเป็นแบบ Macbook ไปดีกว่าครับ

ฝั่งของ Mac ก็มีให้เลือกอยู่ไม่กี่แบบครับ จะเป็น Macbookair , Macbook Pro , Macmini หรือ iMac ก็ว่ากันไปครับ แต่ว่าโดยพื้นฐานหากมีการเล่นไฟล์เพลงผ่าน Harddisc ในเครื่องของแต่ละรุ่นนั้น ผมแนะนำว่า Macbookair น่าจะได้เปรียบที่สุดครับ ถ้าวัดกันในเรื่องของเสียง เนื่องด้วย Harddisc นั้นเป็นแบบ Solid ไม่ได้เป็นแบบจานหมุน เหมือนกับ Pro หรือ Mini ครับ ดังนั้น เวลาอ่านข้อมูลไฟล์เพลงและ Playback กับมาจะได้เปรียบในเรื่องของเสถียรภาพครับ และถ้าเล่นเพลงผ่าน Harddisc เทียบกัน อันนี้ฟังออกครับว่าเสียงนั้นมีความแตกต่างกัน ถ้าใครที่มี Mac อยู่แล้ว ก็สบายใจไทยแลนด์ครับ เพียงแค่ลงโปรแกรมที่เราชอบเพิ่มเติม ก็ใช้งานได้เลยก็ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ Mac จองคุณได้เป็นอย่างดี (เพราะว่าผมก็เป็นครับ บางที ซื้อ Mac มาแล้วใช้ไม่คุ้ม เน้นตอบเวบ ภาพสวยอย่างเดียว)ในส่วนของ Mac mini นั้นผมก็แนะนำสำหรับท่านที่ มีจอ เพื่อใช้งานร่วมด้วยอยู่แล้ว เพราะว่า Macmini นั้น จะต้องต่อกับจอ เพื่อแสดงผลอีกทีนะครับ เพราะว่าตัวเครื่องนั้นมาแต่ตัว ไม่มีจอมาให้ บางท่านบอกว่า ยุ่งยาก ก็เลยตัดสินใจซื้อเป็นแบบ Macbook ไปดีกว่าครับ

ก็ว่ากันตามกำลังทรัพย์และความชอบครับคราวนี้ ในส่วนของ โปรแกรมที่จะมาใช้งานร่วมกับ Platform ของ Mac ก็มีหลายตัวเช่นกันครับ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันก็เห็นจะเป็น ก็ว่ากันตามกำลังทรัพย์และความชอบครับคราวนี้ ในส่วนของ โปรแกรมที่จะมาใช้งานร่วมกับ Platform ของ Mac ก็มีหลายตัวเช่นกันครับ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันก็เห็นจะเป็น Amarra ซึ่งตัวโปรแกรมแระราคาสามารถเลือกดูได้ที่นี่ครับ

นอกจากนี้ ก็ยังมีโปรแกรม Pure music และ Audirvana ครับ ซึ่งราคาก็จะลดหลั่นกันลงมา เสียงแต่ละตัวก็มีจุดเด่นด้อยต่างกันไปครับ ถ้าเน้นสดๆ กระชับๆ ก็ต้องลอง Pure Music แต่ถ้าเน้นแบบอุ่นๆ โทนหนานิดๆ ก็ต้องลอง Audirvana ครับ ส่วน Amarra นั้นโดยส่วนตัวผมว่า เสียงค่อนข้างครบเครื่องมากถึงมากที่สุดครับ 2. ไฟล์เพลง

แล้วไฟล์เพลงที่เราเล่นๆกันในระบบ Computer Audio นั้นมาจากไหนกันล่ะครับ พี่น้อง ส่วนนี้ก็แบ่งง่ายเป็นสัก 2 กรณีนะครับ คือ 2.1 Digital File ที่มีรายละเอียดเท่ากับแผ่น CD คือ รายละเอียดในระดับ 16bit/44.1KHz โดยที่ไฟล์จำพวกนี้ก็จะมาจากการ rip ไฟล์เพลงจากแผ่นซีดี ลงมาเก็บไว้ในรูปแบบของ Digital file โดยการ rip นั้น ก็จะแบ่งได้เป็นอีก 2 กรณีใหญ่ๆดังนี้ครับ คือ

1. rip โดยใช้ itune 2. rip โดยใช้โปรแกรม EAC ที่รันบนวินโดว์

ซึ่งทั้งสองแบบนั้นก็มีข้อที่แตกต่างกันอยู่นิดหน่อย อันนี้ผมขออนุญาตเล่าจากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ คือเริ่มต้นนั้นผมจะเน้นไปที่การ rip ด้วย itune เนื่องจากว่า สะดวกสบาย และสามารถทำ cover หรือหน้าปกของอัลบั้มได้ง่าย และเมื่อต้องการเล่นเพลงย้อนกลับไปนั้นก็จะเล่นด้วยโปรแกรม Amarra with itune และทำการควบคุมด้วยอุปกรณ์เสริม จำพวก ipad , iphone หรือ บรรดา i-? ซักอย่างหนึ่งครับ เป็นครั้งแรกที่เล่น แล้วรู้สึกว่า .........

นี่คือข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่ดีกว่าการเล่นซีดี กล่าวคือ บางวัน เพลีย เหนื่อย กลับมาเปิด Macbook แล้วก็เชื่อมต่อการควบคุม หลังจากนั้นก็เปิดเพลงที่มีอยู่เต็มไปหมดเท่าที่เราอยากฟัง หาทางนี้ผมว่าโอเคครับ

รายละเอียดการ rip นั้นลองดูเพิ่มเติมจากกระทู้ที่น้าอั๋นทำไว้ให้ดูครับ ตามลิงค์นี้เลย

ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น มีอีกกระแสแนะนำว่า การ rip ด้วย โปรแกรม ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้น มีอีกกระแสแนะนำว่า การ rip ด้วย โปรแกรม EAC

อันนี้ คือไฟล์แบบแรก ผมขออนุญาตเรียกว่า standard resolution ละกันนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

ส่วนอีกแบบคือ ไฟล์ที่เรียกสั้นเรียกว่า Hi Res ๆ อะไรทำนองนี้ล่ะครับ ถ้าเอาให้เข้าใจง่ายก็คือไฟล์ที่เป็นไฟล์รายละเอียดสูง และไม่มีการบีบอัดข้อมูลลงมาเพื่อให้ write ลงในมาตรฐาน (Exact Audio Copy)นั้น จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าการ rip จาก itune ครับ ซึ่งผมเองก็ได้ทดลองทำและทดลองฟังดูแล้วครับ พบว่า จริงอย่างที่เค้าว่า เพียงแต่ว่าการใช้งานนั้น อาจจะยากกว่าทางฝั่งที่ rip ด้วย itune อยู่สักหน่อยครับ โดยไฟล์ที่ rip จาก EAC นั้นจะเป็นนามสกุล ครับ ก็สามารถนำไปเล่นกับโปรแกรมเล่นเพลงอื่นได้เช่นกันครับ ตรงส่วนนี้ก็แล้วแต่ว่าท่านจะเลือกอันไหนนะครับ สุดแล้วแต่ความชอบเลยครับ ถ้าถามผม ผมก็ยังให้คะแนนทาง itune มากกว่าอยู่นิดหน่อยครับ ในเรื่องของความสะดวกสบาย และง่ายต่อการใช้งานครับอันนี้ คือไฟล์แบบแรก ผมขออนุญาตเรียกว่า standard resolution ละกันนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจส่วนอีกแบบคือ ไฟล์ที่เรียกสั้นเรียกว่า Hi Res ๆ อะไรทำนองนี้ล่ะครับ ถ้าเอาให้เข้าใจง่ายก็คือไฟล์ที่เป็นไฟล์รายละเอียดสูง และไม่มีการบีบอัดข้อมูลลงมาเพื่อให้ write ลงในมาตรฐาน Redbook ของ CD โดยที่รายละเอียดหรือ resolution ของไฟล์จำพวกนี้ก็จะสูงกว่า โดยอาจจะอยู่ในระดับของ 24bit/96KHz , 24bit/192 KHz , 24/88.2 , 24/176 ประมาณนี้ครับ มาถึงจุดนี้คงจะหายสงสัยกันแล้วนะครับ ก่อนหน้าเคยแต่ได้ยินว่า เล่นไฟล์ 24 96 ได้ไหม เล่นแบบ 24 192 ได้หรือเปล่า มันคืออะไรน้อ ตอนนี้น่าจะหาคำตอบให้กับตัวเองได้บ้างแล้วนะครับท่าน

ไฟล์จำพวกนี้ ถือได้ว่าเป็นไฟล์ระดับ Studio Master ครับ รายละเอียดสูง เพราะฉะนั้น หลายๆท่านที่เป็น คอ Computer Audiophile จึงมั่นใจและยอมรับว่า นี่ล่ะคือของจริง คุณภาพแบบห้องอัดจริงๆ ว่าอย่างนั้นเถอะ

แล้วไฟล์ จำพวกนี้เอามาจากไหนกันล่ะครับ ?

ง่ายๆ เลยครับ เราก็ต้องเสียเงินซื้อหากันมาล่ะครับ จากไหนน่ะหรือ ก็จากเวบไซต์ที่เปิดจำหน่าย อาจจะเป็นของสังกัดที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เอง หรือจากเวบไซต์ที่เป็นสื่อกลางที่ซื้อลิขสิทธิ์เพลงมาให้เราดาวน์โหลดกันอย่างถูกกฎหมาย ถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆ มันก็คือการซื้อหาเพลงมาฟังนั่นล่ะครับ เพียงแต่ว่ารูปแบบของสิ่งที่คุณได้รับกลับมาจากการชำระเงินนั้น มันแตกต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ เดิมทีจ่ายเงินสด ได้ม้วนเทปกลับมา

ยุคต่อๆมาก็เปลี่ยนเป็น จ่ายเงินสด แล้วได้ แผ่นซีดี หรือ SACD กลับมา มาถึงยุค digital นี้เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินสด เพียงแต่จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต

แล้วสิ่งที่ได้รับกลับมาก็คือ digital file นั่งเองครับ อ่านมาถึงตรงนี้ก็จะจับสังเกตได้ว่า เห็นไหมล่ะครับ ที่ผมบอกเกริ่นมาด้านบน มันสอดคล้องกันตรงที่ว่า เราก็แค่เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบการหารความสุขจากการฟังดนตรีให้สอดคล้องกับยุคกับสมัย และได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น ก็เท่านั้นเองครับ

ตัวอย่างเว็บบริการดาวโหลด (เสียเงิน)

ตอนนี้ก็มีหลายเวบที่เปิดบริการให้ดาวน์โหลดแบบเสียเงินครับ ทั้ง HDtrack , Linn และ อีกหลายๆค่ายครับ

เห็นไหมครับ ว่าไม่ใช่เฉพาะเราเท่านั้น ที่ต้องปรับตัวในการหาเพลงมาฟังกัน เจ้าของเพลงเองก็ต้องปรับเปลี่ยนช่องทางการจัดจำหน่ายเช่นเดียวกันครับ 3. D/A Converter

แต่มาจนถึงวันนี้ ในวันที่ DAC นั้นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่จะขาดไม่ได้ ในการเล่นเพลงผ่าน Computer ทำให้ในปัจจุบัน หลายค่ายหันมาให้ความสนใจกับการผลิต DAC อีกครั้งหนึ่ง แต่รูปแบบในตอนนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อย ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยสิ่งที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ ก็คือ Input แบบ USB เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ Notebook นอกจากนี้ Input แบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็น Coaxial & Optical ก็ยังคงมีอยู่เช่นดันครับ ทำให้ บางครั้งบางคราวนี้ ในปัจจุบัน เวลามีคนเรียกหา DAC เค้าก็เลยจะใช้คำว่า น้องครับ มี USB DAC ไหมครับ มันก็ด้วยประการ ณ นี้ล่ะครับผม

ข้อสังเกตที่หลายท่านสงสัย : แล้ว เครื่องนี้ USB มันรองรับที่เท่าไหร่กันล่ะครับ

คำถามนี้เกิดขึ้นมา เนื่องจากว่า USB ในปัจจุบันนั้น มีทั้งระบบที่เรียกว่า Synchronous & Asynchronous USB ครับ เดิมที โดยทั่วไปในยุคแรกๆนั้น USB จะเป็น Adaptive mode Synchronoous ครับ กล่าวคือ ทั้งภาครับและภาคส่งนั้นจะใช้สัญญาณ Master Clock เดียวกันในการกำหนดจังหวะสัญญาณ โดยที่ผู้รับนั้น จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนความถี่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตัวส่ง ผมที่เกิดขึ้นก็คือ รองรับข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และ มี Jitter เกิดขึ้นในระบบ จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นข้างเคียง โดยระบบนี้ จะรองรับสัญญาณสูงสุดในระดับ 16bit/48KHz

จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Asynchronous USB โดยหลักการทำงานคือ แทนที่ทั้งภาครับและภาคส่งจะใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน ก็ให้ทางถาครับนั้นใช้สัญญาณนาฬิกาของตัวเอง และเพิ่มเติมวงจร Buffer เข้ามาก่อนจะถึงชิปประมวลผลของ DAC เพื่อดักและตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วยเสียก่อนแล้วจึงส่งไปถอดรหัสทีเดียว เพื่อให้ได้ความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดของข้อมูล ส่งผลให้ในปัจจุบัน นั้น Asynchronous USB สามารถรองรับสัญญาณได้ในระดับ 24bit/192KHz

ทำให้ trend ในปัจจุบันนั้น ต้องยอมรับครับว่า จะโน้มเอียงมาทาง Asynchronous USB เสียมากกว่า แบรนด์ใดที่ยังไม่ได้ทำ ตอนนี้ก็เริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงกันออกมาแล้วครับ ดังนั้น หากตอนนี้ ท่านจะเล่น USB DAC ก็ต้องลองพิจารณาจุดนี้ด้วยเช่นเดียวกันครับ

จับตามองกันให้ดีครับ เพราะว่า เผลอๆ ปีหน้าท่านอาจจะได้เห็น ผลิตภัณฑ์จำพวก DAC นั้นออกมาแข่งขันกันเต็มท้องตลาดเลยก็ว่าได้ครับ ผมคนหนึ่งล่ะที่คิดว่ายังไงก็เป็นไปได้แน่นอน

เบื้องต้น ของการเล่นเอาเท่านี้ก่อนดีไหมครับ พี่น้อง เพราะผมกลัวว่า ขืนพิมพ์มากกว่านี้ ท่านๆ จะไม่อยากอ่าน และรู้สึกว่ามันยุ่งยากเกินไปละ ไว้โอกาสหน้าผมมาแนะนำเพิ่มเติมอีกทีละส่วนดีกว่าครับ

ทั้งสายสัญญาณ และ ชนิดของไฟล์ต่างๆ รวมถึง Network Player ที่เป็นอีกกระแสที่หลายๆท่านสนใจ

สุดท้ายนี้ ฝากไว้ครับ ถ้าใครสนใจจะเล่น Computer Audio ณ เวลานี้ และมีคำถามว่า ถึงเวลาหรือยัง ผมตอบให้เลยครับว่า เล่นได้แล้วครับ ตอนนี้อะไรๆมันชัดเจนในตัวของมันเองแล้ว สังเกตง่ายๆครับ ถ้าผมขยับเมื่อไหร่ ท่านมั่นใจได้เลยว่า trend นั้นกำลังจะมา...

เล่นเครื่องเสียง ให้มีความสุขนะครับ

ปิยะนัส (?o?,) เมื่อตลาดมีการปรับเปลี่ยน มาให้ความสนใจในเรื่องของ Computer Audio มากขึ้น ผู้ผลิตเครื่องเสียงยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ก็ต้องปรับตัวเช่นกันครับ จากเดิมที่อาจจะไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของ DAC กันมากเท่าไหร่นักส่วนหนึ่งก็เพราะ ความรุ่งเรืองของ เครื่องเล่นซีดี ที่มี D/A Converter ในตัว ทำให้นักเล่นหลายท่านไม่นิยมนำ DAC External ไปใช้งานร่วมด้วยสักเท่าไหร่แต่มาจนถึงวันนี้ ในวันที่ DAC นั้นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่จะขาดไม่ได้ ในการเล่นเพลงผ่าน Computer ทำให้ในปัจจุบัน หลายค่ายหันมาให้ความสนใจกับการผลิต DAC อีกครั้งหนึ่ง แต่รูปแบบในตอนนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อย ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยสิ่งที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้ ก็คือ Input แบบ USB เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ Notebook นอกจากนี้ Input แบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็น Coaxial & Optical ก็ยังคงมีอยู่เช่นดันครับ ทำให้ บางครั้งบางคราวนี้ ในปัจจุบัน เวลามีคนเรียกหา DAC เค้าก็เลยจะใช้คำว่า น้องครับ มี USB DAC ไหมครับ มันก็ด้วยประการ ณ นี้ล่ะครับผมข้อสังเกตที่หลายท่านสงสัย : แล้ว เครื่องนี้ USB มันรองรับที่เท่าไหร่กันล่ะครับคำถามนี้เกิดขึ้นมา เนื่องจากว่า USB ในปัจจุบันนั้น มีทั้งระบบที่เรียกว่า Synchronous & Asynchronous USB ครับ เดิมที โดยทั่วไปในยุคแรกๆนั้น USB จะเป็น Adaptive mode Synchronoous ครับ กล่าวคือ ทั้งภาครับและภาคส่งนั้นจะใช้สัญญาณ Master Clock เดียวกันในการกำหนดจังหวะสัญญาณ โดยที่ผู้รับนั้น จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนความถี่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตัวส่ง ผมที่เกิดขึ้นก็คือ รองรับข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และ มี Jitter เกิดขึ้นในระบบ จะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นข้างเคียง โดยระบบนี้ จะรองรับสัญญาณสูงสุดในระดับ 16bit/48KHzจากปัญหาดังกล่าว ทำให้ มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Asynchronous USB โดยหลักการทำงานคือ แทนที่ทั้งภาครับและภาคส่งจะใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน ก็ให้ทางถาครับนั้นใช้สัญญาณนาฬิกาของตัวเอง และเพิ่มเติมวงจร Buffer เข้ามาก่อนจะถึงชิปประมวลผลของ DAC เพื่อดักและตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วยเสียก่อนแล้วจึงส่งไปถอดรหัสทีเดียว เพื่อให้ได้ความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดของข้อมูล ส่งผลให้ในปัจจุบัน นั้น Asynchronous USB สามารถรองรับสัญญาณได้ในระดับ 24bit/192KHzทำให้ trend ในปัจจุบันนั้น ต้องยอมรับครับว่า จะโน้มเอียงมาทาง Asynchronous USB เสียมากกว่า แบรนด์ใดที่ยังไม่ได้ทำ ตอนนี้ก็เริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงกันออกมาแล้วครับ ดังนั้น หากตอนนี้ ท่านจะเล่น USB DAC ก็ต้องลองพิจารณาจุดนี้ด้วยเช่นเดียวกันครับจับตามองกันให้ดีครับ เพราะว่า เผลอๆ ปีหน้าท่านอาจจะได้เห็น ผลิตภัณฑ์จำพวก DAC นั้นออกมาแข่งขันกันเต็มท้องตลาดเลยก็ว่าได้ครับ ผมคนหนึ่งล่ะที่คิดว่ายังไงก็เป็นไปได้แน่นอนเบื้องต้น ของการเล่นเอาเท่านี้ก่อนดีไหมครับ พี่น้อง เพราะผมกลัวว่า ขืนพิมพ์มากกว่านี้ ท่านๆ จะไม่อยากอ่าน และรู้สึกว่ามันยุ่งยากเกินไปละ ไว้โอกาสหน้าผมมาแนะนำเพิ่มเติมอีกทีละส่วนดีกว่าครับทั้งสายสัญญาณ และ ชนิดของไฟล์ต่างๆ รวมถึง Network Player ที่เป็นอีกกระแสที่หลายๆท่านสนใจสุดท้ายนี้ ฝากไว้ครับ ถ้าใครสนใจจะเล่น Computer Audio ณ เวลานี้ และมีคำถามว่า ถึงเวลาหรือยัง ผมตอบให้เลยครับว่า เล่นได้แล้วครับ ตอนนี้อะไรๆมันชัดเจนในตัวของมันเองแล้ว สังเกตง่ายๆครับ ถ้าผมขยับเมื่อไหร่ ท่านมั่นใจได้เลยว่า trend นั้นกำลังจะมา...เล่นเครื่องเสียง ให้มีความสุขนะครับปิยะนัส (?o?,) ************************************ 16/44.1 khz , 24/96 khz , 24/192 khz , 32/384 khz

เป็นตัวแสดงอัตราการสุ่มสัญญาณ (Sample rate) ตัวเลขแรกเป็นการแสดงจำนวนบิต (bit) ส่วนตัวเลขตัวหลังนั้น จะแสดงความถี่ (Frequency) เช่น 16/44.1 khz ก็คือสัญญาณเสียงขนาด 16 บิตที่มีการสุ่มสัญญาณ (บันทึกหรือเล่นกลับ) 44,100 ครั้งต่อวินาที ซึ่งใช้มาตรฐาน Audio CD ตัวเลขทั้งสองยิ่งสูงขึ้น ก็จะแสดงรายละเอียดสูงตามขึ้นไปด้วยเช่นกันครับ AAC

ย่อมาจาก Advanced Audio Coding (AAC) เป็นมาตรฐานการบีบอัดเสียงที่กำหนดโดย ISO และ IEC โดยเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน MPEG-2 และ MPEG-4 ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก มาตรฐาน MP3 Format ดังนั้น AAC จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า MP3 ใน bit rate เดียวกัน AES/EBU

เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสัญญาณเสียงดิจิตอล ที่กำหนดโดย Audio Engineering Society / European Broacasting Union จะใช้ตัวย่อของ 2 องค์กรมาเป็นตัวย่อของมาตรฐานดังกล่าว ช่องต่อของ AES/EBU จะใช้แบบ 3 Pin หรือที่เรียกกันว่า บาล้านส์ XLR นั่นเองครับ AES/BEU จึงเป็นทางเลือกสำหรับท่านนักเล่น ที่ต้องการช่องต่อสัญญาณ ดิจิตอล ที่ดีกว่าช่องต่อแบบ S/PDIF ที่ใช้กันโดยทั่วไปครับ AIFF

Audio Interchange File Format เป็นไฟล์ที่ถูกพัฒนาโดย Apple ครับ โดยส่วนมากแล้ว จะถูกใช้โดย MIDI/Audioโปรแกรม บันทึกเสียง ของ Mac โดย AIFF สามารถเป็นได้ทั้ง stereo และ mono พร้อมทั้งยังรับรอง resolutions จาก 8-bit/22kHz (lo-fi)ถึง 24-bit/96kHz(hi-fi) หรือสูงกว่า และไฟล์ Aiff เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพเสียงดีที่สุดรองจาก WAV ASIO

Audio Stream Input/Output เป็นไดร์เวอร์ที่กำหนด โปรโตคอลสำหรับการสื่อสารกับ Sound card ที่พัฒนาโดย บริษัท Steinberg ที่ช่วยให้แอพพลิเคชั่นกับฮาร์ดแวร์สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง และเต็มประสิทธิภาพ ตั้งแต่ Input จนถึง Output ส่งผลให้ลดการหน่วงของสัญญาณ (มีความต่างของเวลาระหว่างการบันทึกและการเล่นกลับต่ำ ดังนั้นเมื่อมีการบันทึกเสียง ก็จะได้ยินเสียงที่บันทึกแทบจะทันที) และได้คุณภาพเสียงระดับสูง โดยรองรับการใช้งานแบบ Multichannel อีกด้วย ALAC

Apple Lossless Audio Codec ขนาดไฟล์ไกล้เคียงกับ FLAC กระบวนการ decode หรือทำให้มันกลับสู่สภาพเดิมไม่ตกหล่นผิดเพี้ยน Bandwith

อัตราการส่งข้อมูล โดยมีหน่วยวัด 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ในด้านการสื่อสารดิจิตอลมักจะวัดเป็นจำนวนข้อมูลต่อหน่วยระยะเวลา เช่น บิตต่อวินาที (bits/second) กิโลบิตต่อวินาที (Kilobits/s) เมกาบิตต่อวินาที (Megabits/s) เป็นต้น สำหรับการวัดคลื่นสัญญาณอนาล็อค มักจะวัดเป็นเฮิรทซ์ (hertz) หรือครั้งต่อวินาที Bit

ย่อมาจากคำว่า Binary Digit เป็นหน่วยย่อยที่สุดของข้อมูลดิจิตอล ซึ่งเป็นเลขฐาน 2 (Binary) Bit Perfect

สัญญาณ (ภาพ/เสียง) ที่ไม่ผ่านการตกแต่งใดๆ เช่น ไม่มีการตกแต่งหรือประมวลผลใดๆจาก DSP รวมทั้ง Upsampling/Downsampling เพื่อคงความสมบูรณ์แบบจากต้นฉบับให้ได้มากที่สุดครับ BNC

มาจาก Bayonet Neill-Concelman หรือมาตรฐานการเชื่อมต่อสาย RF ชนิดหนึ่ง Byte

หน่วยวัดปริมาณข้อมูลดิจิตอล ซึ่งมีค่าเท่ากับ 8 บิต เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มต้นนั้น จะใช้ข้อมูล 8 บิตในการเข้ารหัสอักษร 1 ตัว จึงใช้เป็นรากฐานในการนับปริมาณข้อมูลจนถึงปัจจุบัน Clock

ในที่นี้หมายถึง นาฬิกา ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ดิจิตอล ความเที่ยงตรงของสัญญาณ นาฬิกา จะส่งผลถึงความเที่ยงตรงในการทำงานของอุปกรณ์ดิจิตอลอื่นๆ และส่งผลถึงคุณภาพเสียงในที่สุด เช่น 16/44.1 khz สัญญาณเสียงขนาด 16 บิตที่มีการสุ่มสัญญาณ (บันทึกหรือเล่นกลับ) 44,100 ครั้งต่อวินาที Clock จะทำหน้าที่ เรียงข้อมูล 44,100 ครั้งต่อวินาที ให้มีความเที่ยงตรงและ สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน FLAC

Free Lossless Audio Codeec คือ CODEC ในการบีบอัดเสียงแบบไม่สูญเสียคุณภาพสัญญาณ (Lossless) ซึ่งสามารถลดปริมาณข้อมูลได้ถึง 50-60% เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับข้อมูลแบบ WAVE หรือ Audio CD Jitter

ความคลาดเคลื่อนทางเวลาของสัญญาณ ซึ่งในทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการสื่อสาร Jitter ส่งผลค่อนข้างสูง เนื่องจากส่งผลให้เกิดความเพี้ยนของสัญญาณ จนทำให้เกิดการกระตุก เกิดเสียงรบกวน จนถึงขั้นขาดการสื่อสารไปได้ อย่างไรก็ตามในทางการปฏิบัติ Jitter มักถูกกำหนดให้มีระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งจะมากจะน้อย ขึ้นอยู่กับ ผู้ที่ออกแบบระบบต้องการ Sample Rate

อัตราการสุ่มสัญญาณ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอัตราการสุ่มที่ 44.1 khz , 48 khz , 96 khz , 192 khz Upsampling

การเพิ่มความถี่เข้าไปในตัวข้อมูล สำหรับด้านเสียง คือการเพิ่มคุณภาพเสียงทั้งในด้านรายละเอียด ลดรอยต่อของคลื่อนสัญญาณ (anti - alias) และลดสัญญาณรบกวน โดยการเพิ่มเติมความถี่ (upsampling) เพื่อให้เสียงมีความตอเนื่องเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น