ขั้นตอนการเลือกและการแมทชิ่งชุดเครื่องเสียง
การเข้าถึงเสียงเพลงในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ชุดเครื่องเสียง และต้องนั่งฟังอยู่กับที่นั่งเสมอไป บทเพลงหาฟังได้ทุกที่ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เครื่องเล่นอะไร นำบทเพลงจากไหนมาฟัง แต่การฟังเพลงเหล่านั้น จะเพิ่มคุณภาพและยกระดับขึ้นไปอีก หากมีการจัดชุดได้อย่างเหมาะสม อุปกรณ์ทั้งหมดทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

ก่อนอื่นต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ของตนเองก่อนว่า ช่วงเวลาที่ฟังเพลงนั้น ท่านทำอะไรอยู่ อยู่ตรงไหน เพื่อเลือกชุดเครื่องเสียงให้เหมาะสมตรงกับการใช้งาน เพราะหากท่านเลือกไม่เหมาะสม เช่น เป็นคนทำงานและอยู่หน้าคอมเป็นประจำ แต่ไปเลือกชุดเครื่องเสียง ที่ต้องการห้องฟังแบบจัดสภาพอะคูสติก แล้วไปใส่ไว้ในห้องเป็นส่วนตัว เชื่อว่าชุดเครื่องเสียงนั้น คงไม่ค่อยได้เปิดใช้งานฟังเพลงเป็นแน่แท้ หากเป็นเช่นนั้น ชุดลำโพงที่มีภาค DAC ในตัวพร้อมภาคขยาย ดูจะเหมาะสมได้ใช้งานเปิดฟังเพลงมากกว่า
ไปในสถานที่ต่างๆ แบบนี้หูฟังหรือลำโพงพกพาขนาดเล็กดูจะเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถเลือกไปใช้งานฟังเพลงได้ทันที ในทุกที่ที่ไป หากเน้นความเป็นความส่วน ก็ใช้หูฟังเป็นหลัง ซึ่งมีให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เพียงเลือกเครื่องเล่นให้มีความสะดวกใช้งานด้วยเช่นกัน อีกทางเลือกคือ ลำโพงแบบพกพา ที่จะให้บทเพลงในทุกสถานที่โดยฟังเพื่อเป็นบรรยากาศ เช่น การไปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ สามารถฟังคนเดียวได้ หรือฟังเป็นกลุ่มแบบงานปาร์ตี้
กล่าวโดยภาพรวมนั้น แบบมีแบตเตอร์รี่ในตัว มักให้เสียงที่นิ่งและราบรื่นกว่าการเสียบปลั๊กไฟ เพราะเกี่ยวช้องการการรบกวนและความนิ่งในภาจ่ายไฟ DC แต่ทั้งนี้การใช้งานเพื่อได้พละกำลัง น้ำหนักเสียงและความดัง การเสียบปลั๊กใช้ไฟ AC จะได้เปรียบกว่า ทั้งนี้จะเลือกใช้งานแบบ รวมทั้งหมดภายในเครื่องเสียง หรือมีแอมป์และลำโพงแยกส่วนออกมา ก็แล้วแต่ความสะดวกและความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละท่าน
สำหรับการฟังเพลงอยู่กับที่ โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ เรียกว่าท่านอยู่ประจำตำแหน่ง ใช้ในการฟังเพลงสถานที่หรือห้องใดเป็นพิเศษ ก็ลองหาชุดอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ลำโพงตั้งโต๊ะ ที่มีภาพ DAC ในและภาขยาย ก็เหมาะสมกับการวางหน้าคอม ที่เน้นการใช้งานฟังเพลงไปด้วย ทำงานไปด้วย
สามารถยกระดับได้ด้วยการแยกอุปกรณ์ภาค DAC และภาคขยายออกจากกัน หรือแยกตู้ลำโพงออกไปเป็นสัดส่วน แบบนี้ก็เป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับการฟังเพลงนั้นๆ หรือภายในห้องรับแขก พื้นที่พักผ่อน อันเป็นส่วนตัว การมีลำโพงที่มีคุณภาพดี พร้อมภาคขยายหรือประมวลผลในตัว หรือเป็นลำโพงที่ออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ ที่เข้ากับการตกแต่งห้อง ก็สามารถให้เสียงเพลงขับกล่อมได้ทั้งตัวท่านเองหรือสมาชิกในครอบครัว
เป็นการใช้งานชุดเครื่องเสียงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เหมาะสมในที่นี้ไม่ใช่เหมาะสมทางด้านราคา แต่เป็นการเหมาะสมทางการใช้งาน หากนั่งทำงานเป็นหนัก อาจมีเครื่องเล่น streaming หรือ DAC ไว้ใช้งานฟังเพลงจากไฟล์เพลง โดยอินทิเกรตแอมป์สักเครื่องทำหน้าที่ภาคขยาย
หากต้องการเพิ่มความคมชัดและน้ำหนักเสียงก็ให้ไปไปที่ภาคขยายแบบทรานซิสเตอร์ หากชอบความละเมียดละไม เนื้อเสียงอิ่มหวานก็ให้มองที่ใช้หลอดสุญญากาศ ส่วนลำโพงนั้นจะเป็นตั้งพื้นหรือวางหิ้งก็สุดแล้วแต่ เท่านี้ก็สามารถฟังเพลงได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
หากเน้นคุณภาพเสียงขึ้นไปอีก ก็อาจมีจัดแต่งอุปกรณ์เสริมต่างๆและอุปกรณ์ปรับแต่งอะคูสติกเสริมอีกสักหน่อย เท่านี้ก็มีความสุขการฟังเพลง ท่านในชอบอารมณ์แบบวินเทจ จะใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงหรือเทปก็สุดแล้วแต่รสนิยมความชอบและความสะดวกในการใช้งาน หากท่านใดยังชอบความสะดวกพร้อมความสบาย การมีเครื่องเล่นแผ่นซีดีสักเครื่องเข้าไปกับชุดเครื่องเสียง ก็ยังเป็นหนทางที่ยังไม่เคยล้าสมัย
ชุดแบบนี้จัดไม่ยากเลย เพียงแค่มีเงิน มีความรู้ มีทักษะการฟังที่ดีก็พอ หรือจะอ่านจากบทความก่อนๆภายในเวปก็เป็นเรื่องที่สมควรทำครับ การมีชุดเครื่องเสียงแบบจัดเต็มนั้น ไม่ได้หมายถึงชุดอัดเต็มไปด้วยงบประมาณนะครับ หมายถึงชุดเครื่องเสียงที่การจัดวาง การจัดห้องฟัง หรือมีห้องฟังเป็นส่วนตัว จะเป็นชุดราคาเริ่มต้นหลักหมื่น หรือหลายๆล้านก็ใช้หลักการเดียวกัน
การจัดอุปกรณ์และงบประมาณในชุดก็กล่าวไปแล้วในบทความครั้งก่อนๆ ที่นี้มาดูความเหมาะสมในการใช้งานกันบ้าง หากห้องใหญ่หรือการฟังเพลงระดับไดนามิคที่ชัดเจนสักหน่อย การเลือกลำโพงตั้งพื้นพร้อมปรีเพาเวอร์แอมป์ก็เป็นทางออกที่เหมาะสม ห้องขนาดใหญ่ต้องการลำโพงขนาดใหญ่ตามไปด้วย ไม่อย่างนั้นจะฟังเสียงไม่เต็มอิ่ม เสียงทุ้มไม่ได้เนื้อหนังไดนามิค เมื่อลำโพงใหญ่ กำลังขับต้องมีคุณภาพที่ดีเป็นของคู่กัน
หากเป็นห้องเล็กหรือมุมส่วนตัว ลำโพงวางหิ้งสักคู่พร้อมอินทิเกรตแอมป์ก็มีความเหมาะสม แต่ต้องไปลืมจัดการกับสภาพอะคูสติกด้วย เพราะชุดที่ดีและการฟังที่เอาสาระความละเอียดอ่อนนั้น มักจะต้องการห้องที่มีคุณภาพดี เพราะไม่เช่นนั้น จะแสดงประสิทธิภาพของชุดเครื่องเสียงออกมาได้ไม่เต็ม การเล่นเครื่องเสียงเพื่อการฟังเพลงรูปแบบนี้ มักต้องใช้เวลาและประสบการณ์ระดับหนึ่ง เพื่อความสุขบนเส้นทางสายนี้ การใช้เงินเพียงอย่างเดียวเพื่อเป็นหนทางสายนี้อาจไม่เสร็จหรือสวยงามนักในระยะยาว
สำหรับการแมทชิ่งอุปกรณ์นั้น สำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเครื่องเสียงแบบไหน หรือฟังเพลงอย่างไร ไม่เช่นนั้นอาจได้เสียงที่ไม่ตรงใจ เสียงไม่ไพเราะอย่างที่ต้องการ บทความนี้มีแนวทางคร่าวๆ ให้ได้ไปลองใช้พิจารณาในการเลือกชุดเครื่องเสียงกันนะครับ
บุคลิกเสียงคือองค์ประกอบหลักในการเลือกอุปกรณ์ภายในชุดเครื่องเสียง นี่ไม่นับการเข้ากันได้ของอุปกรณ์ จำพวกสายเสียบ หรือช่องสัญญาณอินและเอ้าพุทนะครับ บุคลิกเสียงหลักๆจะแบ่งออกเป็น โทนสว่าง คือให้เสียงเปิดโปร่งสดใส เน้นความคมชัดของรายละเอียด ทุกอย่างเดินหน้าพรั่งพรูออกมาให้รับฟัง อีกบุคลิกเสียงหลักๆก็คือโทนอบอุ่น มักให้เสียงที่มีเนื้อ ไม่สว่างกระจ่างชัดออกมา มีเนื้อเสียงสักหน่อย รายละเอียดมีในแบบ กลมกลืมไปกับเสียงอื่นๆ อันเป็นความกลมกล่อมและกลมกลืนของเสียง เสียงจะไม่คมชัดจับใจ ตั่งนานไปติดหูไม่รู้ลืม
การเลือกนั้น หากเลือกอุปกรณ์ที่บุคลิกเสียงเหมือนกันทั้งหมด ก็สามารถทำได้ หากท่านชอบเสียงแบบนั้นเป็นพิเศษ หากท่านชอบความเหมาะสม สมดุล เติมเต็ม กับจัดอุปกรณ์ผสมบุคลิกเสียงให้ได้ความลงตัว ยกตัวอย่างเช่น ฟังเพลงจากไฟล์เพลง ที่ให้เสียงคมชัด อาจหาภาคขยายแบบหลอดหรือคลาสเอมาเสริมเติมความหวานเข้าไปในรายละเอียดได้ หรือจะหาลำโพงเสียงโทนอุ่นจากกรวยลำโพงที่ผลิตจากกระดาษมาเสริม ก็ทำได้เช่นกัน